Monday, December 17, 2007

โกสน



โกสน เป็นไม้ประดับอีกชนิดหนึ่ง ที่มีจุดเด่นอยู่ที่สีสรรและลักษณะรูปทรงของใบที่มีความสวยงามต่างไปจากไม้อื่นๆ สันนิษฐานว่ามีผู้นำเข้ามาปลูกเลี้ยงในประเทศไทยเมื่อประมาณกว่า 100 ปี มาแล้วหรือพอๆ กับบอนสีและไม้ประดับอื่นๆ อีกหลายชนิด
คำว่า โกสน เพี้ยนมาจากคำว่า โกรต๋น หรือ Croton ในภาษาอังกฤษ โกสนเป็นไม้พุ่มขนาดเล็กถึงกลาง มีลักษณะใบแตกต่างกันแล้วแต่สายพันธุ์ คือ มีทั้ง ใบกลม ใบยาว ใบกว้าง ใบแคบและใบบิด พื้นใบก็มีทั้งสีเดียว สองสี สามสี หรือมากกว่า ซึ่งส่วนใหญ่จะประกอบด้วยสีเขียว เหลือง แสด ชมพู และแดง จึงจัดได้ว่าเป็นไม้ประดับที่มีความสวยงาม โกสนเป็นพืชในตระกูล Cadiaeum Varigeatum มีถิ่นกำเนิดกระจัดกระจายอยู่ในมลายู อินเดีย จีน อเมริกา และยุโรป ในประเทศไทย พระยาภาสกรวงศ์ เป็นผู้สั่งนำเข้ามาจากอินเดียเป็นครั้งแรกเมื่อประมาณปี พศ. 2423 เรียกกันว่า แขกดำ และได้รับความนิยมปลูกเลี้ยงและขยายพันธุ์กันเฉพาะในวังของเจ้านายและข้าราชบริพารชั้นผู้ใหญ่ อยู่ชั่วระยะเวลาหนึ่งเป็นเวลานานพอสมควร ต่อมาจึงได้ขยายตัวออกไปตามวัดวาอารามต่างและประชาชนทั่วไปตามลำดับ ทำให้มีการขยายพันธุ์โกสนออกไปอย่างกว้างขวางรวมทั้งมีการผสมพันธุ์ขึ้นมาใหม่อีกมากมาย
ลักษณะโดยทั่วไป
โกสนจัดเป็นไม้ประเภทไม้พุ่ม มีขนาดตั้งแต่พุ่มขนาดเล็กจนถึงพุ่มขนาดใหญ่ โดยทั่วนิยมปลูกเป็นไม้ประดับในกระถางเพื่อให้มีลักษณะเป็นพุ่มเล็กๆ แต่ถ้าปลูกลงดินและมีอายุหลายปีลำต้นสูงใหญ่เป็นพุ่มขนาดใหญ่ได้เช่นกัน จุดเด่นของโกสนคือเป็นไม้ที่มีใบแปลกไปจากไม้ชนิดอื่นๆ คือ มีรูปร่างลักษณะของใบแตกต่างกันออกไปหลากหลายรูปแบบ มีสีสันของใบหลายสีในใบหรือต้นเดียวกัน ส่วนประกอบของใบ ลักษณะรูปทรงและสี แยกออกได้ดังนี้ส่วนประกอบของใบพื้นใบ คือส่วนของหน้าใบทั้งหมดกระดูกหรือไส้ คือเส้นที่อยู่กลางใบ จากโคนใบไปหาปลายใบหูใบ คือส่วนล่างทั้งสองข้างของกระดูกตะโพกใบ อยู่ถัดจากหูใบขึ้นมาทางปลายใบเล็กน้อยสายระโยงหรือสายระยาง คือสายเส้นเล็กๆ ที่แตกออกจากหลังใบบริเวณปลายใบ และจะมีแผ่นใบเล็กๆ ที่ปลายสายปลายใบงอนปากเป็ด คือลักษณะของใบที่ปลายใบมนๆ และคอดไม่เหยียดตรงอาจงอนไปทางใดทางหนึ่งปลายใบจีบ มีลักษณะคล้ายปลายงอนปากเป็ด แต่ใบจะเหยียดตรงและทีปลายใบทั้งสองข้างจะจีบเข้าหากัน
ลักษณะรูปทรงใบ
ใบกลม รูปใบมีลักษณะกลมคล้ายใบบัวบก ลักษณะใบเช่นนี้ส่วนใหญ่จะมีสายเปียระโยงใบกลมค่อนข้างยาว มีลักษณะกลมรี ส่วนใหญ่ปลายใบจะกระดกหรืองุ้มขึ้น กลางใบมีทั้งย่นและเรียบ ลักษณะใบเช่นนี้ส่วนใหญ่จะมีสายเปียระโยงใบกลมย่นไหล่ละคร มีลักษณะคล้ายใบกลมค่อนข้างยาว แต่ปลายใบจะกระดกขึ้นมากกว่า กลางใบนูนขอบใบทั้งสองข้างหลุบลู่ลงเป็นรูปหลังเต่าคล้ายเครื่องแต่งกายที่ประดับบนไหล่ทั้งสองข้างของตัวละครใบกลมตะโพกกว้าง รูปใบลักษณะนี้ส่วนใหญ่จะมีหูใบผายตะโพกกว้าง ปลายใบเรียวเล็กลงงอนหรืองุ้มขึ้นใบขนาดกลาง ขนาดของใบตั้งแต่ตะโพกถึงบริเวณกลางใบเกือบเท่ากัน ปลายใบเรียวเล็กลงงอนหรืองุ้มขึ้น ตะโพกใบมนใบขนาดกลางปลายใบมน ลักษณะของใบไม่ยาวมากนัก รูปใบไม่บิด ปลายใบมน บางสายพันธุ์ตะโพกใบแคบบางสายพันธุ์ตะโพกใบกว้างใบแคบยาวตะโพกเล็กปลายใบจีบ ความกว้างหรือแคบของใบวัดที่บริเวณกลางใบ จากริมใบด้านหนึ่งไปอีกด้านหนึ่ง ใบลักษณะนี้จะแคบและยาว ปลายใบจีบใบยาวกลางใบบิด มีลักษณะคล้ายกับรูปใบแคบยาวตะโพกเล็กปลายใบจีบ แต่ช่วงกลางของใบจะบิดใบยาวกว้างหน้าใบเป็นร่องลึกหลังใบนูน เป็นโกสนรูปใบยาว หน้าใบเป็นร่องคล้ายรางน้ำฝน หลังใบนูนใบสามแฉกหรือใบตรี ลักษณะใบเป็นสามแฉกคล้าย อาวุธตรีศูล หรือ ใบสาเก มีทั้งสั้นและยาวใบขนมเปียกปูน โคนใบและปลายใบแหลม กลางใบพองกางออกคล้ายขนมเปียกปูนการกัดสีของใบ
โดยส่วนใหญ่แล้วใบอ่อนหรือใบน้องที่ผลิออกจากยอดใหม่ๆ ใบจะมีสีเขียวก่อน แล้วจะเปลี่ยนสีของพื้นใบจากส่วนใดส่วนหนึ่งไปเป็นสีอื่นเมื่อใบมีอายุมากขึ้นเป็นใบพี่ ลักษณะเช่นนี้เรียกว่า กัดสี ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วการกัดสีของใบโกสนจะกัดสีจากใบอ่อนสีเขียวมาเป็นสีเหลือง เป็นชมพูอมส้ม และเป็นสีเปลือกมังคุดหรือสีม่วงอมดำตามลำดับกัดสีจากลูกบวบไปหาขอบใบ ที่ด้านหลังของพื้นใบบริเวณกลางใบจะเป็นลอนๆ คล้ายลูกฟูก เรียกว่า ลูกบวบ การกัดสีลักษณะนี้จึงเป็นการกัดสีจากบริเวณกลางใบไล่ไปหาขอบใบกัดจุดประ คือลักษณะของสีที่ต่างกับพื้นใบเป็นจุดเล็กบ้างใหญ่บ้าง แต่ขอบของจุดจะพร่ากลมกลืนกับพื้นใบไม่เห็นขอบชัดเจนจุดประ คือลักษณะของสีที่ต่างกับพื้นใบเป็นจุดเล็กบ้างใหญ่บ้าง เห็นเป็นจุดชัดเจนกัดสีจากริมใบไปหากระดูก คือลักษณะการกัดสีหรือเปลี่ยนสีจากริมใบไล่เข้ามาหาไส้หรือกระดูกใบแก่หรือใบพี่กัดจากริมใบและใส้หรือกระดูกและพื้นใบจะเปลี่ยนสี เป็นลักษณะการกัดสีจากริมใบและกระดูด เมื่อใบแก่พื้นใบจะเปลี่ยนสี
การปลูกเลี้ยงและดูแลรักษา
โกสนเป็นไม้ที่ปลูกเลี้ยงง่าย ชอบดินโปร่งร่วนซุย อากาศถ่ายเทได้ดี ไม่มีน้ำขังแฉะ มีอินทรีย์วัตถุปานกลาง ดินที่เหมาะในการใช้ปลูกเลี้ยงโกสนคือดินท้องร่องสวนที่มีส่วนผสมของใบทองหลาง ใบก้ามปู หรือกาบมะพร้าวสับละเอียด ถ้าใช้ดินปลูกเป็นดินเหนียวที่แน่นทึบจะทำให้รากเน่าและใบร่วงง่าย ปุ๋ยคอกควรใช้ในปริมาณที่เหมาะสมไม่มากเกินไปเพราะอาจทำให้โกสนสูงชลูดเสียรูปทรงได้ ปุ๋ยเคมีควรใช้ปุ๋ยที่มีฟอสฟอรัสและโปรแตสเซียมสูง จะช่วยให้สีของใบสดใสและเข้มขึ้น ถ้าใช้ปุ๋ยที่มีไนโตรเจนสูงจะทำให้โกสนมีใบเขียวจัด ลายของสีอื่นๆ จะลดลง แสงแดดก็มีส่วนช่วยให้สีของใบโกสนสวยเป็นเงางาม แต่ไม่ควรให้รับแสงแดดตลอตทั้งวัน การรดน้ำควรรดในปริมาณที่พอเหมาะไม่แฉะเกินไป ควรทำการตัดแต่งกิ่งก้านและใบให้ได้รูปทรงที่สวยงาม รวมทั้งตัดใบและกิ่งที่แก่หรือแห้งออกบ้าง
การขยายพันธุ์
การขยายพันธุ์โกสนสามารถทำได้หลายวิธีด้วยกัน คือ การปักชำ การตอนกิ่ง การเสียบยอด การติดตาและการเพาะเมล็ดการปักชำกิ่ง เป็นวิธีการที่ง่ายและประหยัด คือ ใช้มีดที่คมและสะอาดเลือกตัดกิ่งที่ไม่แก่หรืออ่อนเกินไปมาเป็นกิ่งชำ ชุบโคนกิ่งชำลงในฮอร์โมนเร่งราก เอ็กโซติกฮอร์โมน ประมาณ 3-5 นาที ทิ้งไว้ให้หมาด จากนั้นนำกิ่งชำลงชำในกระถางซึ่งมีขี้เถ้าแกลบผสมกับขุยมะพร้าวในตัตราส่วนเท่าๆ กันเป็นวัสดุปักชำ วางไว้ในที่ร่มที่มีความชื้นสูงรดน้ำวันละ 1-2 ครั้ง ประมาณ 4-5 สัปดาห์ รากและใบอ่อนก็จะเริ่มงอก จึงย้ายลงปลูกในกระถางใหม่ต่อไปการตอนกิ่ง เลือกกิ่งที่ต้องการตอน โดยเลือกจากกิ่งที่ไม่แก่หรืออ่อนเกินไป ใช้มีดที่คมและสะอาดควั่นหรือบากเอาเปลือกออกรอบลำต้นยาวประมาณ 1-2 ซม. ไช้ฮอร์โมนเร่งราก เอ็กโซติกฮอร์โมน ทารอบรอยควั่นให้ทั่ว ทิ้งไว้พอหมาด จากนั้นใช้ถุงพลาสติกใส่ขุยมะพร้าวให้เต็มรดน้ำให้ชุ่มแล้วรัดปากถุง หรือที่เรียกว่าตุ้มขุยมะพร้าว นำมาผ่าด้านข้างด้านใดด้านหนึ่งแล้วสวมรอยผ่าเข้ากับรอยควั่นของกิ่งตอนให้ขุยมะพร้าวและถุงพลาสติดหุ้มรอบกิ่งตอน ใช้เชือกมัดหัวท้ายตุ้มขุยมะพร้าวให้แน่น ประมาณ 4-6 สัปดาห์ รากก็จะขึ้นเต็มตุ้มขุยมะพร้าวจึงตัดไปปลูกลงกระถางต่อไปการเสียบยอด คือการนำยอดของโกสนพันธุ์ดีไปเสียบกับตอของโกสนพันธุ์ที่มีระบบรากและลำต้นแข็งแรงกว่า เป็นวิธีการขยายพันธุ์ที่ค่อนข้างยุ่งยากต้องอาศัยความชำนาญและการฝึกหัดเป็นอย่างดี ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้ เตรียมต้นตอโดยการหาต้นโกสนที่มีราคาไม่สูง เช่น ตะเพียนทอง มาเป็นต้นตอ และเตรียมโกสนที่มีราคาหรือที่ต้องการจะขยายพันธุ์ไว้ ใช้มีดที่คมและสะอาดตัดยอดของต้นตอออกพร้อมกับบากตอลงไปในลักษณะปากฉลามลึกประมาณ 1/2 ซม. ตัดยอดของต้นพันธุ์ดีพร้อมทั้งเฉือนส่วนปลายสองข้างให้พอดีกับปากฉลามของต้นตอ เสียบลงไปให้ประสานเสมอกันพอดีมัดด้วยเชือกพลาสติก นำต้นตอและยอดที่มัดดีแล้วใส่ในถุงพลาสติกใบใหญ่มัดปากถุงให้แน่นวางไว้ในที่ร่มประมาณ 7 วัน จึงนำออกจากถุงการติดตา คือการนำตาของโกสนพันธุ์ดีไปเสียบกับตอของโกสนพันธุ์ที่มีระบบรากและลำต้นแข็งแรงกว่า เป็นวิธีที่ยุ่งยากเช่นเดียวกับการเสียบยอด มีขั้นตอนดังนี้ เตรียมต้นตอโดยการหาต้นโกสนที่มีราคาไม่สูง เช่น ตะเพียนทอง มาเป็นต้นตอ และเตรียมโกสนที่มีราคาหรือที่ต้องการจะขยายพันธุ์ไว้ ตัดยอดของต้นตอพร้อมทั้งปลิดใบบริเวณที่จะติดตาออก ใช้มีดที่คมและสะอาดเฉือนเปลือกต้นตอออกเป็นแนวยาวตามลำต้นประมาณ 1-2 ซม. เฉือนตาต้นพันธุ์ที่ต้องการจะติดตาให้มีใบติดมาด้วยและให้มีขนาดพอๆ กับที่เฉือนต้นตอ แนบตาเข้ากับรอยเฉือนของต้นตอ ใช้เชือกเล็กๆ มัดให้แน่น ใส่ในถุงพลาสติกใบใหญ่มัดปากถุงให้แน่นวางไว้ในที่ร่มประมาณ 7 วัน จึงนำออกจากถุงการเพาะเมล็ด เป็นการขยายพันธุ์อีกแบบหนึ่งซึ่งส่วนใหญ่มีจุดประสงค์เพื่อให้เกิดโกสนพันธุ์ใหม่ นักเลี้ยงโกสนนิยมใช้วิธีช่วยผสมเกสรแล้วเก็บเมล็ดมาเพาะ โดยใช้ทรายหรือขี้เถ้าแกลบเป็นวัสดุในการเพาะ ประมาณ 2-3 สัปดาห์ ก็จะเป็นต้นอ่อน เมื่อต้นอ่อนอายุ 2-3 เดือนจึงย้ายปลูกได้การผสมพันธุ์
ดอกโกสนจัดเป็นดอกไม่สมบูรณ์เพศ คือดอกตัวผู้และดอกตัวเมียแยกกันอยู่คนละดอกในต้นเดียวกัน โดยจะออกดอกที่บริเวณยอดกิ่ง เป็นช่อเล็กๆ ยาวประมาณ 8-10 นิ้ว ตามปกติโกสนจะออกดอกเป็น 2 ช่อ โดยช่อดอกที่มีเกสรตัวเมียจะออกก่อน มีลักษณะก้านดอกสั้น ในหนึ่งช่อมีดอกประมาณ 10-20 ดอก แต่ละดอกมีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ กลีบดอก 5-6 กลีบ มีปลายเกษรตัวเมียเป็น 3 แฉก มีรังไข่ 3 ช่อง อยู่ติดกับก้านดอก ส่วนช่อดอกตัวผู้จะออกตามหลังช่อตัวเมียในยอดเดียวกัน ก้านช่อดอกจะยาวกว่าช่อดอกตัวเมีย ดอกบานเป็นรูปกลมคล้ายดอกกระทุ่ม มีเกสรตัวผู้สีเหลือง เมื่อดอกบานแล้วเกสรตัวผู้จะร่วงจากก้านช่อดอกเพื่อผสมกับเกสรตัวเมียที่ช่อดอกตัวเมีย เมื่อดอกตัวเมียได้รับการผสมกับเกสรตัวผู้ก็จะติดผล ผลอ่อนของโกสนจะมีสีเขียวอ่อน เมื่อแก่ผลจะมีสีม่วงคล้ำเกือบดำขนาดเท่าเม็ดพริกไทยและจะแตกออกพร้อมกับดีดเมล็ดกระเด็นออกไป ระยะตั้งแต่ติดผลจนผลแก่แตกออกจะใช้เวลาประมาณ 6-8 สัปดาห์ ในการผสมพันธุ์โกสนเพื่อให้ได้โกสนพันธุ์ใหม่จะใช้วิธีช่วยผสมเกสร โดยนำเกสรตัวผู้จากต้นหนึ่งไปผสมกับเกสรตัวเมียของโกสนอีกต้นหนึ่งที่มีสายพันธุ์คนละสายพันธุ์ เมื่อติดผลจนเป็นผลแก่จึงนำเอาเมล็ดไปเพาะต่อไป